Sophie Bellon“เราเชื่อว่าความสมดุลทางเพศส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และจะขับเคลื่อนผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้นในท้ายที่สุด เมื่อผู้หญิงมีศักยภาพเต็มที่ ธุรกิจและสังคมก็จะแข็งแกร่งขึ้นและประสบความสำเร็จมากขึ้น” - โซฟี เบลลอน ประธานคณะกรรมการบริหารของโซเด็กซ์โซ่

Denis Machuel“ความหลากหลายทางเพศเป็นสิ่งสำคัญ มันเป็นมากกว่าภาระผูกพันทางศีลธรรม - แต่เป็นความจำเป็นทางธุรกิจและเป็นตัวสร้างความแตกต่าง ที่โซเด็กซ์โซ่ ความหลากหลายและการยอมรับความแตกต่างที่มากขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่ต้องใช้เวลาและความนอบน้อม” - เดนิส มาชูแอล ผู้บริหารของโซเด็กซ์โซ่



 

การศึกษาดุลยภาพทางเพศ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลการปฏิบัติงานของวัฒนธรรมการทำงานแบบมีเอกภาพทางเพศ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นว่าตรงกันข้ามกับวัฒนธรรมที่เพศหนึ่งมีอำนาจเหนืออีกเพศหนึ่ง

เราใช้แนวทางในวงเชิงกว้างและมองในมุมที่กว้างขึ้น ในการพิจารณาจำนวนผู้หญิงจากผู้บริหารในทุกระดับ ข้อมูลนี้ถูกรวบรวมและวิเคราะห์จากผู้จัดการกว่า 50,000 คนจาก 70 หน่วยงานทั่วโลก รวมทั้งทีมผู้บริหารจากหลากหลายหน้าที่ ตั้งแต่ผู้นำระดับสูงไปจนถึงผู้จัดการดูแลไซต์งาน

การวิจัยครั้งก่อนของโซเด็กซ์โซ่ชี้ให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเกิดขึ้นเมื่อทีมผู้บริหารมีอัตราส่วนระหว่างเพศที่ 40% - 60% ของผู้หญิง และอัตราส่วนนี้ถูกใช้ในการศึกษาปี พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดการจัดการด้านดุลยภาพทางเพศของเรา โดยครอบคลุมทั้งการวัดประสิทธิภาพทางการเงิน และการตรวจสอบตัวชี้วัดทางธุรกิจที่ไม่ใช่ทางการเงินมาเป็นผลลัพธ์ด้วย

infographic showing the results of sodexo's gender balance study

 

SoTogether

SoTogether Logoตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 รากฐานที่สำคัญของกลยุทธ์ความเท่าเทียมทางเพศของโซเด็กซ์โซ่ คือ SoTogether ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาระดับโลก (ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูงที่ทำงานอยู่ 26 คน อดีตพนักงาน 10 คน และพนักงานปัจจุบัน 5 คนจาก 20 สัญชาติ) ที่อุทิศตนเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดดุลยภาพทางเพศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผู้หญิงในทุกระดับขององค์กร ซึ่งคณะกรรมการที่ปรึกษานี้จะรายงานต่อคณะกรรมการบริหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ:

  1. เป็นผู้นำและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ความเท่าเทียมทางเพศขององค์กร
  2. เพื่อเกณฑ์บุคคลที่มีทรงอิทธิพล ให้เข้าสู่การเป็นคณะกรรมการที่สามารถสนับสนุนงานในภูมิภาคของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอิทธิพลต่อความเป็นผู้นำในท้องถิ่นและนำไปสู่การดำเนินการตามลำดับ
  3. เพื่อให้โอกาสผู้หญิงที่มีศักยภาพสูงได้แสดงความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ในทั้งองค์กรทั่วโลก ซึ่งถือได้ว่าเป็นเครื่องมือในการช่วยให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไป

เครือข่ายด้านเพศภาวะ SoTogether

อ่านต่อ

หลักการเสริมสร้างพลังสตรี (WEPs) 

UN Women - United Nations Global Compact logoโซเด็กซ์โซ่ยึดมั่นในหลักการเสริมสร้างพลังสตรีแห่งสหประชาชาติใน 64 ประเทศที่เราดำเนินงาน

หลักการเสริมสร้างพลังสตรีแห่งสหประชาชาติได้ถูกเปิดตัวในวันสตรีสากล เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2553 ในฐานะที่เป็นกลุ่มหลักการสำหรับธุรกิจ ซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเสริมพลังสตรีในที่ทำงาน ตลาด และชุมชน หลักการดังกล่าวจะเน้นไปที่กรณีศึกษาทางธุรกิจสำหรับการดำเนินการขององค์กรในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมสร้างพลังสตรี และได้รับข้อเท็จจริงจากการดำเนินธุรกิจจริงและเป็นข้อมูลที่รวบรวมจากทั่วโลก แทนที่จะเป็นการกำหนดหรือวางแนวคิดใหม่ที่ธุรกิจต้องปฏิบัติตาม ทาง WEPs พยายามส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเป็นพลเมืองที่ดีผ่านมุมมองเรื่องเพศขององค์กร สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็ก และบทบาทของธุรกิจในการพัฒนาที่ยั่งยืน นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา เราได้ลงนามในคำชี้แจงการสนับสนุนของผู้บริหารสำหรับหลักการเสริมสร้างพลังสตรีแห่งสหประชาชาติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 เราได้รับการยอมรับจาก UN WEPs ในอินเดียในฐานะที่เป็นสื่อกลางทางธุรกิจที่คำนึงถึงมิติของชายหญิงด้วยระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่คำนึงถึงผลประโยชน์โดยรวมในสังคม

อ่านต่อ

Gender Equality European & International Standard (GEEIS)GEEIS logo

The Gender Equality European and International Standard เป็นเครื่องหมายที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับบริษัทต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าและมีประสิทธิภาพในการบรรลุความเท่าเทียมทางเพศและความหลากหลายในที่ทำงาน ทั้งนี้ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ความพยายามของโซเด็กซ์โซ่ที่มีต่อความเท่าเทียมทางเพศในอินเดียได้รับการรับรองโดย Gender Equality European & International Standard (GEEIS)

อ่านต่อ